พิมพ์หนังสือ เล่มนึงได้ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
หนังสือ คือ อุปกรณ์สื่อสารชนิดหนึ่งที่มีผู้เขียน เป็นผู้ต้องการถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้รู้ถึงเรื่องราวที่เขียนลงไปในนั้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบตัวอักษรหรือรูปภาพก็ตาม จึงถือได้ว่าหนังสือคือส่วนสำคัญที่ทำให้เราทุกคน ได้รู้เรื่องราวต่างๆ จากบรรพบุรุษ จนถึงปัจจุบันและยังเป็นทั้งสื่อการเรียนการสอนที่สำคัญอีกด้วย เรียกได้ว่านมุษยชาติทั้งในยุคก่อนและจนถึงปัจจุบัน เติบโตมาพร้อมกับหนังสือถึงแม้หลายๆ คนจะไม่ชอบอ่านหนังสือก็ตาม แต่คงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าไม่มีใครไม่เคยอ่านหนังสือเลย การพิมพ์หนังสือจึงถือได้ว่าก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรามีหนังสือจำนวนมากให้คนทั้งโลกได้อ่านกัน
พิมพ์หนังสือ เล่มนึงได้ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด งั้นการคิดจะเริ่มทำหนังสือสักเล่มนึงมันยากตรงไหนละ
เราต้องเริ่มกันตั้งแต่คิดว่าเราจะพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเรื่องอะไร เราต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านได้เข้าถึง และเข้าใจในเรื่องอะไรและเราอาจจะยังต้องคิดด้วยว่าเราตั้งใจจะให้คนกลุ่มใดเป็นผู้อ่าน หลังจากเรารู้แล้วว่าเราจะเขียนอะไร ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนเรื่องราวรวบรวมข้อมูลหรือสิ่งที่เราจะนำเสนอ ตกแต่งจัดเรียงให้สวยงาม ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างละเอียด เพราะการจะพิมพ์หนังสือสักเล่มนึงจะต้องระวังในการออกแบบรูปเล่มเยอะมาก เช่นถ้าเราวางตัวหนังสือชิดขอบกระดาษมากเกินไปมันก็อาจจะทำให้เวลาเข้าเล่มหนังสือข้อความดังกล่าวอาจถูกตัดออกไปได้ นอกจากเรื่องนี้แล้วยังมีปัญหาอีกมากมายที่ต้องคอยระวังเวลาทำหนังสือ คุณเคยเห็นข้อความในหนังสือพิมพ์ที่สีมันเหลื่อมกันจนอ่านแทบไม่ได้ไหมครับ นั้นเกิดมาจากการออกแบบเลือกสีที่ใช้กับตัวอักษรที่ไม่เหมาะสมนั้นเองครับ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมาดูกันว่า การจะออกแบบหนังสือสักเล่มนึงจะต้องระวังอะไรบ้าง
1. ข้อความควรห่างจากขอบ
อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า เราต้องระวังเรื่องข้อความชิดกับขอบงานมากเกินไปมีโอกาสทำให้ ข้อความนั้นๆ อาจโดนตัดแหว่งหายไปได้ ถ้าอย่างนั้นเราจะต้องทำยังไงให้ ข้อความสำคัญๆ ไม่โดนตัดออกไป การจะทำให้เซฟที่สุดข้อความควรห่างจากขอบไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิเมตรครับ เพราะเวลาพิมพ์หนังสือเขาจะพิมพ์กันในจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนในการผลิตจึงทำให้เวลาที่ตัดหนังสือในจำนวนมากมันมักจะเหลื่อมไปมา และมีโอกาสสูงมากที่จะตัดกินเข้าไปในเนื้องานไม่เหมือนการตัดที่ละเล่มที่เราจะสามารถเล็งได้ว่าเราจะตัดระยะไหน
2. โหมดสี RGB กับ CMYK
ในการพิมพ์หนังสือการออกแบบสีพิมพ์ ก็เป็นสิ่งสำคัญในการทำแบบ เพราะเพียงแค่เรื่องเล็กๆ อย่างการเลือกโหมดสีผิดก็สามารถทำให้งานพิมพ์ออกมาสีผิดเพี้ยนได้ โดยปกติคนที่ทำเว็บไซด์จะใช้โหมดสี RGB เป็นปกติอยู่แล้ว รวมไปถึงงานออกแบบต่างๆ ที่ไม่ใช่สื่อสิ่งพิมพ์ก็มักจะใช้โหมดสี RGB เป็นโหมดสีในการทำแบบ แต่ในงานหนังสือหรืองานสิ่งพิมพ์ต่างๆ จำเป็นจะต้องใช้โหมด CMYK ในการออกแบบ ถ้าใช้เป็นโหมด RGB เลยก็อาจจะทำให้สีผิดเพี้ยนได้เลยทีเดียวถ้าจะให้อธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ
สี RGB คือสีที่เป็นสีของแสง หรือสีของหน้าจอ Monitor สี RGB ยังใช้ในการอัดรูปตามร้านโฟโต้ช้อปอีกด้วย ส่วนสี CMYK คือสีของหมึกแต่งานโรงพิมพ์ส่วนมากมักจะใช้ค่าสี CMYK เพราะต้องพิมพ์หมึกลงบนกระดาษ จึงต้องใช้้ค่าสีของหมึกในการออกแบบหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
3. งานตัวหนังสือสีดำ
ในความคิดของคนทั่วไป สีดำก็คือสีดำเหมือนๆ กันหมด มันจะแตกต่างกันตรงไหน แต่ในการออกแบบข้อความในคอมพิวเตอร์นั้น มันมีเรื่องของค่าสีเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างที่บอกใว้ในหัวข้อก่อนหน้าว่าโหมดสีมีผลต่องานพิมพ์ จึงทำให้สีดำของทั้งสองโหมดมีความแตกต่างกันมาก ในโหมด CMYK ย่อมาจาก Cyan(ฟ้า) Magenta(บานเย็นหรือชมพูอมม่วง) Yellow(เหลือง) Black(ดำ) เพราะฉะนั้นสีดำของโหมด CMYK มันคือดำจริง แต่ในโหมด RGB ที่ย่อมาจาก Red(แดง) Green(เขียว) Blue(น้ำเงิน) จึงทำให้สีดำในโหมด RGB ไม่ได้เป็นสีดำจริงๆ มันเกิดจากการผสมสีจึงทำให้สีดำในโหมดนี้ มักจะมีปัญหาพิมพ์เหลื่อมในเวลาพิมพ์จริงบ่อยครั้ง